สิงโตสยาม / -

หนึ่งลำลูกกล้วยมี 1 ใบ เป็นความหมายของชื่อสกุล Bulbophyllum คนไทยเรียกสกุลนี้ว่า สกุลสิงโต เนื่องจากกลีบปากกระดกได้ เปรียบเสมือนตาของสิงโตที่ใช้เชิดในประเพณีไทย-จีน ที่กระพริบได้เร็วๆ สิงโตสยามชนิดนี้เดิมถูกตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เป็น Bulbophyllum siamensis โดยชื่อระบุชนิดบ่งบอกว่าพบในประเทศไทย แต่ภายหลังนักพฤกษศาสตร์จำแนกให้เป็นระดับชนิดย่อย (subspecies) แทน สิงโตสยามพบได้ตามสันเขาที่อากาศเย็นในป่าดิบเขา ดอกเดี๋ยวค่อนข้างใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับชนิดอื่นๆ และมีการดอกที่ยาว ประวัติการค้นพบ: Heinrich Gustav Reichenbach นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอร์มัน ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ชนิดนี้ในปี ค.ศ. 1867 โดยใช้ตัวอย่างที่สำรวจพบในประเทศไทย และตั้งชื่อคำระบุชนิดว่าเป็นพืชที่พบในประเทศไทย ต่อมาในปี ค.ศ. 2015 Mangal, F.Velazquez & J.J.Verm. ได้จัดจำแนกใหม่ให้เป็นชนิดย่อย siamense ที่อยู่ในชนิด B. lobbii เนื่องจากมีความผันแปรของลักษณะที่ยังอยู่ภายใต้ชนิดนี้ ที่มาชื่อไทย: มาจากชื่อวิทยาศาสตร์คำว่า “siamense” หมายถึงพบในประเทศสยาม หรือประเทศไทย ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: กล้วยไม้อิงอาศัย เหง้าเป็นแท่งกลม ลำลูกกล้วยออกห่างกัน ใบ มีใบเดียว รูปขอบขนาน ค่อนข้างแข็ง ดอก ออกเดี่ยว ก้านดอกยาวเรียว กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีเหลือง มีลายเป็นเส้นตามยาวสีน้ำตาลแดงตามเส้นกลีบ กลีบปากสีเหลือง รูปไข่ ปลายมน ลักษณะโค้ง นิเวศวิทยา: พบตามป่าดิบเขาทั่วทุกภาคของประเทศ ออกดอกเดือนพฤศจิกายน การกระจายพันธุ์: อัสสัม , ชมพูทวีป,เอเชีย, บังกลาเทศ,เทือกเขาหิมาลัยตะวันออกเอเชีย กัมพูชา,เมียนมาร์,ไทย,เกาะบอร์เนียว,ฟิลิปปินส์ ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ: สถานภาพทางการอนุรักษ์: เอกสารอ้างอิง:Bulbophyllum lobbii (orchidroots.com)


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Bulbophyllum lobbii subsp. siamense (Rchb.f.) Mangal, F.Velazquez & J.J.Verm.

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง